ใช้ประโยชน์จาก Filter หน้าลูกค้า เพื่อสร้างแนวทางการถ่ายภาพ

 

shutterstock filter 

 

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการขายภาพออนไลน์นั้น การใช้งานเว็บไซต์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง นั่นคือฝังผู้ขายภาพ (Contributor) และฝั่งของลูกค้า (Customer) แน่นอนว่าทั้ง 2 ฝั่งนี้จะมีวิธีการใช้เว็บไซต์ที่แตกต่างกัน สำหรับในบทความนี้ จะพามาดูการค้นหารูปภาพจากเว็บไซต์ Shutterstock ซึ่งมีเครื่องมือที่เรียกว่าฟิลเตอร์ (Filter) หรือเราอาจจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าการกรอง  ซึ่งช่วยให้ผู้ซื้อภาพสามารถค้นหารูปภาพที่โดนใจ ได้ง่ายขึ้น การใช้ฟิลเตอร์นั้นก็สามารถเลือกรูปภาพที่ตรงกับความต้องการได้หลากลายลักษณะ เช่น กรองเอาเฉพาะรูปภาพ ที่เป็นภาพแนวนอน หรือแนวตั้ง  และมีสีใดบนรูปภาพนั้นบ้าง

 

แล้วการใช้ฟิลเตอร์ หรือการกรองนี้ จะสามารถนำไปใช้เป็นในทางในการถ่ายภาพได้อย่างไร เรามาดูตัวอย่างกัน เช่น เมื่อเราต้องการถ่ายภาพคุกกี้ เราก็จะทำการค้นหารูปภาพด้วย Keyword : cookie ลงไปในเว็บไซต์ของ Shutterstock ฝั่งของผู้ซื้อ ตามภาพด้านล่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบบได้ค้นหารูปภาพจำนวน 1 ล้านกว่าใบขึ้นมา แน่นอนว่าในส่วนนี้ยังไม่มีการคัดแยก Cookie ในลักษณะต่าง ๆ ออกจากกัน เราจึงยังไม่สามารถหาแนวทางในการถ่ายภาพได้

 

stock photo 006

 

แต่เมื่อเราเริ่มใช้ฟิลเตอร์เข้ามาช่วยกรองภาพที่ต้องก็จะทำให้เราเริ่มได้แนวทางที่มากขึ้น โดยให้ดูจากภาพด้านล่าง จะเห็นได้ว่าผมทำการกรองโดยกำหนดว่า

1.    ให้หาภาพในหน้าที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด (Most relevant)

2.    แสดงเฉพาะรูปภาพเท่านั้น (Photo)

3.    แสดงเฉพาะรูปภาพที่เป็นแนวนอน (Horizontal)

4.    และในภาพที่แสดงนั้นจะต้องมีส่วนประกอบของสีเขียวมะนาว

 

ซึ่งจากภาพ 1 ล้านกว่าใบ เหลือรูปภาพคุกกี้ที่มีลักษณะตรงกับการกรองจำนวน 2,481 ใบเท่านั้น ด้วยวิธีการนี้ทำให้เราพอมองเห็นแนวทางในการถ่ายภาพคุกกี้ได้มากขึ้นแล้ว ว่าเราควรถ่ายภาพแนวนอน และในภาพควรมีพร็อพ หรือส่วนประกอบสีใดบ้าง ซึ่งเราสามารถกรองได้หลายลักษณะ และดูจำนวนภาพในแต่ลักษณะว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะการถ่ายภาพ และส่งภาพใน Keyword ที่ได้รับความนิยม ตามลักษณะที่ภาพที่เราได้ทำการกรองนั้นหากรูปภาพลักษณะดังกล่าวยังคงมีปริมาณน้อยอยู่ ย่อมมีโอกาสในการขายภาพได้มากขึ้น หวังว่าจะเข้าใจ

 

stock photo 007