เทคนิคหาคำมาเขียน Description ได้อย่างแม่นยำ

description

 

การขายภาพออนไลน์นั้น มีสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ อยู่ 2 อย่างก็คือ การถ่ายภาพที่มีเรื่องราว มีการจัดองค์ประกอบ ซึ่งส่งผลให้ภาพนั้นมีความสวยงาม และมีคุณภาพที่ดี และ ขายเขียน Description ที่มีความหมาย ตรงกับภาพมากที่สุด ในเรื่องของการถ่ายภาพนั้นคงไม่ต้องอธิบายกันมากนัก เนื่องจากมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพ แพร่หลายอยู่บนอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว เพียงแค่ใช้เวลาในการศึกษาสักระยะหนึ่งก็เชื่อได้ว่าจะสามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างสวยงาม และมีคุณภาพได้ไม่ยากนัก

 

แต่สำหรับการเขียน Description แล้ว เป็นสิ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่แพ้การถ่ายภาพให้มีคุณภาพครับ เนื่องจากเวลาที่ลูกค้าค้นหาภาพ จะใช้คำสำคัญในการค้นหา (Keyword) หากเราสามารถเลือกคำได้ตรงกับภาพมากที่สุดใส่ลงใน Description แล้ว ก็จะช่วยให้ลูกค้าพบภาพของเรา และยิ่งภาพที่เราถ่ายนั้นมีคุณภาพมาก ๆ แล้ว โอกาสที่ลูกค้าจะซื้อภาพของเรา ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น 

 

เมื่อเราได้ทราบถึงความสำคัญของ Description แล้ว ต่อไปเราจะมาดูวิธีในการหาคำศัพท์แบบแม่นยำมาใส่ให้กับภาพของเรากันครับ ต้องอธิบายก่อนว่าคำศัพท์ง่าย ๆ นั้นเราสามารถหาได้ง่าย ๆ อยู่แล้ว ในบทความนี้จึงเป็นการแนะนำการหาคำศัพท์ที่เขียนหรืออธิบายได้ยากมาใส่ให้กับภาพของเรากันครับ มาดูขั้นตอนกันได้เลยครับ

 

ก่อนอื่นเราต้องมีเครื่องมือช่วยเหลือกันก่อน โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ วิกิพีเดีย โดยคลิกที่นี่ และพิมพ์ข้อความที่เราต้องการค้นหา เข้าไปในช่องค้นหา

 

description 002

 

ในตัวอย่างนี้ผมจะค้นหาคำว่าถั่วเขียว เพราะโดยทั่วไปแล้วเราก็มักจะคิดว่าถั่วเขียว ก็คือ Green Bean แต่เมื่อนำคำว่า Green Bean ไปค้นหาในเว็บไซต์ Shutterstock ในหน้าของลูกค้า จะพบว่า ภาพที่ได้มานั้นไม่มีความแม่นยำเอาเสียเลย ภาพที่แสดงออกมานั้นส่วนใหญ่เป็นถั่วซึ่งมีฝัก หรือเมล็ดเป็นสีเขียว เป็นส่วนใหญ่ แน่นอนว่าไม่ตรงกับความต้องการของเราแน่ ๆ ผมจึงนำคำว่า "ถั่วเขียว" เขียนเป็นภาษาไทยนี่แหละครับ ไปค้นหาในเว็บไซต์วิกิพีเดีย และมองไปที่ชื่อทวินาม (ชื่อวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีชื่อว่า vigna radiata แน่นอนครับคำเหล่านี้ไม่ได้เหมาะสมที่จะนำไปเขียน Description หรอกครับ เราจะต้องนำชื่อวิทยาศาสตร์นี้ไปค้นหาเพิ่มเติมครับ

 

description 004 

 

หลังจากได้คำศัพท์ที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็นำคำนี้ไปค้นหาในเว็บไซต์ Shutterstock (หน้าลูกค้า) คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ Shutterstock หน้าลูกค้า ซึ่งจะเห็นว่าเราจะเห็นภาพถั่วเขียวขึ้นมาจำนวนหนึ่ง (ดูภาพด้านล่างประกอบ) จากภาพจะเห็นว่ามีภาพที่เกี่ยวกับ vigna radiata อยู่ประมาณสามพันกว่าใบ และในบรรทัดถัดไป (บรรทัดสุดท้ายในภาพ) จะมี Keyword ที่เกี่ยวกับถั่วเขียวเป็นจำนวนมาก 

 

description 005

 

ให้คลิกเมาส์ไปที่ Keyword ใด ๆ ก็ได้ แล้วลองเปรียบเทียบดู ว่าภาพที่ได้ขึ้นมานั้น เป็นภาพถั่วเขียวที่ตรงกับความต้องการของเรามากน้อยแค่ไหน หรือ Keyword ไหนตรงกับภาพของเรามากที่สุด เราก็เลือกใช้คำนั้นมาเขียนใน Description ของเรา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าคำที่ได้มานั้นมีความแม่นยำมากที่สุดครับ ในตัวอย่างนี้คำที่เกี่ยวข้องและเชื่อว่าเป็นถั่วเขียวมากที่สุดก็คือ mung beans และเมื่อนำคำศัพท์นี้ไปแปลใน Google แปลภาษาก็ได้ความหมายว่าถั่วเขียว ซึ่งแปลมาจากภาษาชวา

 

description 006

 

ลองนำไปประยุกต์ใช้งานกันได้ครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อยครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ