talk stockphoto 001

 

การออกแบบกราฟฟิกส์ด้วยโปรแกรม Photoshop นั้น หากเป็นการสร้างงานใหม่ก็มักจะเป็นการรวมภาพหลาย ๆ ภาพเป็นภาพเดียวในงานชิ้นใหม่ เช่น มีภาพแบ็กกราวด์เป็นพื้นหญ้า แล้วไปตัดต้นไม้ หรือสัตว์จากภาพอื่นมาวางบนแบ็กกราวด์ดังกล่าว สำหรับขั้นตอนในการตัดภาพด้วย Photoshop นั้นมักใช้เครื่องมือ Pen tool หรือเครื่องมือใหม่ ๆ อย่าง Quick Selection เพราะสามารถตัดภาพได้อย่างละเอียด และแนบเนียน 

 

หากคุณคุ้นเคยกับการใช้ Photoshop จะเห็นได้ว่าเวลาที่เราใช้ Pen tool ลากเส้นมาชนกันแล้วก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้นมา เส้นที่ว่านี้เรียกว่า Path และเมื่อต้องการนำส่วนที่ตัดไปใช้งาน จะต้องแปลง Path ให้กลายเป็น Selection ก็จะสามารถคัดลอกพื้นที่ ๆ ถูกเลือกไปวางบนแบ็กกราวด์ที่เตรียมไว้ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้เราได้เห็นว่าการลากเส้น Path ด้วย Pen tool นั้น กว่าจะเสร็จต้องใช้เวลานานพอสมควร ทั้งนี้ก็ขึ้นกับลักษณะของวัตถุด้วยว่ามีความโค้ง ความเว้า มากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่าเวลาที่เสียไปนั้นย่อมได้มาซึ่งงานที่สวยงาม

 

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทภาพพื้นหลังสีขาว แล้วเราใช้คำสั่งในโปรแกรม Photoshop แนบเส้น Path นี้ไปพร้อมกับไฟล์รูปภาพที่มีนามสกุล .jpg ไปด้วย ก็จะช่วยให้ลูกค้าสามารถทำงานได้งาย เพราะเมื่อลูกค้าเปิดภาพแล้วไปที่พาแนล Path ลูกค้าสามารถเปลี่ยนเส้น Path ให้กลายเป็น Selection ได้ทันที และสามารถคัดลอกพื้นที่ ๆ ถูกเลือกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาลากเส้น Path เองซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก

 

โดยปกติแล้วเวลาที่เราทำภาพพื้นหลังสีขาวแบบไม่มีเส้น Path ลูกค้าสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายเหมือนกันก็จริง แต่ในบางครั้งมีส่วนที่เป็นสีขาวติดเข้าไปในเนื้อของภาพด้วยถ้าดูจากภาพตัวอย่างแล้วก็คือส่วนที่เป็นหงส์ เมื่อเปิดภาพนี้แล้วใช้เครื่องมือสำหรับเลือกส่วนที่ต้องการใช้งานเช่น Magic wand tool (คฑาวิเศษ) ถ้ามีสีขาวบริเวณขอบ ๆ ของตัวหงส์ มันจะกินเข้าไปในเนื้อของรูปภาพด้วยทำให้การใช้งานก็ไม่ค่อยสะดวกนัก เมื่อเรานำภาพส่วนที่เลือกไปวางบนแบ็กกราวด์ ภาพนั้นจะมีส่วนที่ขาดหายไป 

 

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าจะช่วยให้คุณเข้าใช้คำว่า Clipping Path มากขึ้นนะครับ ขอสรุปอีกครั้งหนึ่งเพื่อเพิ่มความเข้าใจว่า Clipping Path ก็คือการแนบเส้น Path ที่ลากด้วย Pen tool หรือจากแปลงจาก Selection จากเครื่องมืออื่น เป็นเส้น Path ไปพร้อมกับไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg ที่ได้ทำการลบแบ็กกราวด์ออก เหลือไว้เฉพาะพื้นที่ส่วนที่ต้องการ (ตัวแบบ) เรียบร้อยแล้ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายนั่นเอง

 

อ่านวิธีการฝัง Clipping path ได้โดย คลิกที่นี่ สำหรับเทคนิคการใช้ Pen tool ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่ผมใช้สร้างเส้น path คลิกที่นี่ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ Clipping path ได้มากขึ้นนะครับ ติดตามตอนต่อไปครับ

 

อ่านบทความเกี่ยวกับการขายภาพออนไลน์เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

สนใจคอร์สเรียนขายภาพออนไลน์กับ Ninetechno.com (คอร์สออนไลน์ในกลุ่มลับ Facebook) ซึ่งปัจจุบันมีผู้เรียนจำนวน 600 ท่าน เรียนขายภาพออนไลน์ และเรียนแต่งภาพในคอร์สเดียว เนื้อหา 100 ช.ม. คลิกที่นี่ เพื่อดูเนื้อหา สนใจสมัครเรียนสามารถ Add Line ID : korn1977 ซึ่งจะได้รับส่วนลดกว่า 30% จากราคา 1,490 บาท เหลือเพียง 999 บาทเท่านั้น (กรุณาแจ้งว่าได้รับข้อมูลคอร์สออนไลน์จากบทความนี้)